ห้องสมุดโรงเรียนนครสวรรค์ เริ่มแรกตั้งอยู่ที่อาคาร 1 ชั้นล่าง ขนาด 1 ห้องเรียน เมื่อปี พ.ศ. 2513 ย้ายไปอยู่อาคาร 3 ชั้นบน ขนาด 3 ห้องเรียน มีอาจารย์รัชนี รังสิมันตกุล เป็นบรรณารักษ์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 อาจารย์สมใจ พุทธเบญจา ได้สอบบรรจุที่โรงเรียนนครสวรรค์ จึง ดำรงตำแหน่งบรรณารักษ์ห้องสมุด และต่อมาในปี พ.ศ. 2532 อาจารย์สมใจ พุทธเบญจา ได้ย้ายไปโรงเรียนดัดดรุณี จ.ฉะเชิงเทรา อาจารย์รัชนี รังสิมันตกุล เป็นบรรณารักษ์ อีกวาระหนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2527 ศาสตราจารย์ ดร.อำนวย คอวนิช และนายมนัส คอวนิช ศิษย์เก่า โรงเรียนนครสวรรค์ พร้อมด้วยภรรยา และบุตรหลาน และญาติมิตรได้ร่วมกันบริจาคเงินจำนวน 800,000 บาท (แปดแสนบาทถ้วน) จัดสร้างห้องสมุด “คอวนิช” ขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ นายริ้ว - นางชม คอวนิช บุพการีต้นตระกูลคอวนิชที่ล่วงลับไปแล้ว ห้องสมุดจึงได้ย้ายมาอยู่อาคารห้องสมุดคอวนิชชั้น 2 ทั้งหมด (ชั้นล่างใช้เป็นห้องเรียนศิลปะ) ขนาด 4 ห้องเรียน มีอาจารย์รัชนี รังสิมันตกุล เป็นบรรณารักษ์

ในปี พ.ศ. 2536 อาจารย์ธีรพนธ์ กลางนภา ผู้อำนวยการโรงเรียนนครสวรรค์ ได้ขออนุมัติงบก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ จำนวน 4 ชั้น แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2537 และ ในเดือน มีนาคม - เมษายน 2537 จึงได้ทำการขนย้ายไปอยู่ที่ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ จัดให้เป็นห้องสมุดส่วนหนึ่ง ขนาด 6 ห้องเรียนโดยแบ่งเป็นส่วน ๆ มีห้องสมุดเสียง ห้องวีดีทัศน์ ห้องปฏิบัติงานบรรณารักษ์ ห้องซ่อมหนังสือ ห้องเก็บวารสารล่วงเวลา ห้องหนังสือวิชาการทั่วไป มุมอ้างอิง มุมเยาวชน มุมมรดกไทย มุมวารสารและหนังสือพิมพ์ ฯลฯ โดยใช้ชื่อว่าห้องสมุด “คอวนิช” ปัจจุบันมี อาจารย์กฤติยาภรณ์ บุณยเกียรติ เป็นบรรณารักษ์ห้องสมุด

ปีการศึกษา 2538 ห้องสมุดโรงเรียนนครสวรรค์ ได้รับรางวัลดีเด่นจากกรมสามัญศึกษา

ปีการศึกษา 2539 ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนภิเษกและเป็นตัวแทนในจังหวัดนครสวรรค์ ทำพิธีเปิดห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก พร้อมกันทั้งประเทศโดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์เป็นประธานในพิธีเปิด

ปีการศึกษา 2540 นายเฉลิม หงษ์สัมฤทธิ์ ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนนครสวรรค์คนปัจจุบันได้ส่งเสริม และสนับสนุนให้นำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานห้องสมุด ใช้ยืม - คืนหนังสือ ด้วยระบบบาร์โค้ด 1 เครื่อง ใช้เช็คสถิติการเข้าใช้บริการต่างๆ 1 เครื่องโดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู-นักเรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปีการศึกษา 2542 นายวิวัฒน์ อนิวรรตกูล ผู้อำนวยการโรงเรียนนครสวรรค์คนใหม่ได้ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 25 ธันวาคม 2543 ท่านได้มีแนวคิดจะย้ายห้องสมุดลงไปอยู่ข้างล่าง แต่จะเป็นที่ใดนั้น จะต้องรอคณะกรรมการฝ่ายอาคารสถานที่พิจารณา ถึงจะดำเนินการย้ายห้องสมุดเพราะท่านได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ประโยชน์ของห้องสมุดว่าควรจะอยู่ในที่ที่เหมาะสม ผู้เข้าใช้บริการสามารถจะเข้า – ออกห้องสมุดในเวลาใดก็ได้ แม้มีเวลาเพียงเล็กน้อยก็มีค่า ไม่ยากต่อการจะเข้าไปศึกษาค้นคว้า และไม่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เพราะห้องสมุดเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการปฏิรูปการศึกษาในยุคสมัยปัจจุบัน และอนาคต นอกจากนี้ยังได้มีแนวคิดจะจัดทำศูนย์วิทยบริการอินเตอร์เน็ตรวมไว้ที่อาคารห้องสมุดด้วย คณะครู – นักเรียนโรงเรียนนครสวรรค์จะได้มีโอกาสเข้าใช้ห้องสมุดได้อย่างไม่มีอุปสรรคใด ๆ และสามารถใช้ห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา กรมสามัญศึกษา ตามบทบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และมาตรฐานด้านผู้เรียนในระบบประกันคุณภาพ (10ข้อ) ด้วยเหตุที่ยังไม่พร้อมในด้านงบประมาณ จึงยังชะลอไว้ก่อนจนกระทั่งท่านได้ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่โรงเรียนสตรีนครสวรรค์

ปีการศึกษา 2546 นางสาวบุบผา เสนาวิน ผู้อำนวยการโรงเรียนนครสวรรค์คนปัจจุบันท่านได้มีนโยบายจะพัฒนาปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนนครสวรรค์ เป็นศูนย์สืบค้นข้อมูลอัตโนมัติ ให้ทันสมัย

ปีการศึกษา 2549 ได้ย้ายจากชั้น 3 อาคาร 8 มาอยู่ที่อาคาร 5 ชั้นล่างจัดเป็นพื้นที่บริการทั้งหมด

ปีการศึกษา 2550 ได้จัดชั้นบนเป็นศูนย์สืบค้นข้อมูลอัตโนมัติ โดยทางโรงเรียนนครสวรรค์จะนำสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยพร้อมทั้งอินเตอร์เน็ตมาจัดไว้บริการให้กับครู นักเรียน บุคคลากรและชุมชน โดยนายอำนาจ ศิริชัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานพิธีเปิดศูนย์สืบค้นข้อมูลอัตโนมัติ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2550

ปีการศึกษา 2551 ได้ขยายพื้นที่ทางด้านหลังของอาคาร 5 ชั้น 1 ให้พื้นที่กว้างขึ้นอีก 2 เมตร ส่วนทางด้านหน้าของอาคารได้ปูพื้นกระเบื้องและทำหลังคายื่นออกไป เพื่อใช้เป็นพื้นที่บริการนั่งอ่านและปรับปรุงส่วนภายในห้องสมุดทั้งหมดให้มีทรัพยากรสารนิเทศที่มีคุณภาพ ครบถ้วนและทันสมัย พื้นที่ให้บริการที่เพียงพอต่อความต้องการครู นักเรียน บุคคลากรและชุมชน

ปีการศึกษา 2552 ได้ปรับปรุงพัฒนาห้องสมุดให้เป็นห้องอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1,400,000 บาท โดยจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ โสตทัศนูปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 50 คน ติดตั้งแอร์เพิ่ม 5 เครื่อง ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ตลอดจนเปลี่ยนคุรุภันฑ์ห้องสมุดใหม่ทั้งหมด เพื่อไว้บริการสำหรับครู - นักเรียน และผู้เข้าใช้บริการทั่วไป โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีเปิดห้องสมุด 3 ดี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 และได้รับรางวัลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านดีเด่นจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1

ปีการศึกษา 2553 ห้องสมุดโรงเรียนนครสวรรค์ได้เข้าร่วมประกวดห้องสมุดดีเด่น ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่น(ขนาดใหญ่)ระดับภาคเหนือ ประจำปี 2553

นับว่าเป็นนิมิตหมายอันดีของโรงเรียนนครสวรรค์ ที่จะพัฒนาการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามนโยบายทิศทางการปฏิรูปการศึกษาได้อย่างมีศักยภาพอันแท้จริง.

สืบค้นหนังสือ

LILK น่าสนใจ

 

 

คลังความรู้

 122

 

 

 

ติดต่อห้องสมุด

28511562 1668332476586012 1472486087 n

ID Line : LIBNSSC

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ​ 

Feedback 750

 

แนะนำหนังสือเข้าห้องสมุด

images 2